วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์ไทย

พระมหากษัตริย์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
{{{royal_title}}}
แห่ง{{{realm}}}
ราชาธิปไตย
[[File:{{{coatofarms}}}|120px]]
{{{coatofarmscaption}}}
อยู่ในราชสมบัติ
{{{incumbent}}}

พระอิสริยยศ:{{{style}}}
ปฐมกษัตริย์:{{{first_monarch}}}
สถาปนา:{{{date}}}

พระมหากษัตริย์ไทย หมายความถึงราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรของคนไทยในอดีตจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้นำราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน มีที่ประทับอย่างเป็นทางการ คือ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เนื่องจากราชอาณาจักรไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระองค์จะทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก
พระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยพระองค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (รัชกาลที่ 9) ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก โดยพระราชอำนาจของพระองค์จะใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ยังทรงดำรงฐานะเป็น จอมทัพไทย และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในพระบรมราชานุมัติ และการพระราชทานอภัยโทษ (ตามกฎหมาย) รวมถึงทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก
ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ฉบับถาวร พ.ศ. 2475) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ได้บัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไว้ว่า "[พระองค์] ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่สามารถถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ[ต้องการอ้างอิง] อีกทั้งยังได้รับความคุ้มครองอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาอันเป็นที่รู้จักกันในประเทศตะวันตกว่า กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้การประทุษร้าย การดูหมิ่น การหมิ่นประมาทและการอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าความผิดตามกฎหมาย[1]
ทั้งนี้ รัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงพระองค์ปัจจุบันของพระมหากษัตริย์ไทยหรือตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ อันเป็นไปตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักรราช 2467 โดยรูปแบบของการสืบราชสันติวงศ์จะสืบทอดจากพระราชบิดาไปสู่พระราชบุตรตามสิทธิของบุตรคนแรกที่เป็นชายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 หรือ ค.ศ. 2007) ได้บัญญัติเพิ่มเติมจากกฎมณเฑียรบาล โดยให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสันติวงศ์ได้ด้วยเช่นกัน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

[แก้] จุดกำเนิด

รูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาตลอด 800 ปี ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สามารถรวบรวมดินแดนจนเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ แนวคิดการปกครองแบบราชาธิปไตยสมัยแรกเริ่มตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาฮินดู (ซึ่งรับเข้ามาจากจักรวรรดิขะแมร์) และหลักความเชื่อแบบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแนวคิดแรกนั้นมาจากวรรณะ "กษัตริย์" ของศาสนาฮินดู เนื่องจากพระมหากษัตริย์จะได้รับอำนาจมาจากอำนาจทางทหาร ส่วนแนวคิดที่สองมาจากแนวคิด "ธรรมราชา" ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หลังจากที่พระพทุธศาสนาเข้ามาในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 อันเป็นแนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ควรจะปกครองประชาชนโดยธรรม
สมัยกรุงสุโขทัย มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์จะมีพระนามขึ้นต้นว่า "พ่อขุน" มีความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมาก หลังจากรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีพระนามขึ้นต้นว่า "พญา" เพื่อยกฐานะกษัตริย์ให้สูงขึ้น ในรัชกาลพญาลิไท พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เฟื่องฟูมาก จึงมีแนวคิด ธรรมราชา ตามคติพุทธขึ้นมา ทำให้พระนามขึ้นต้นของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลพญาลิไทเรียกว่า "พระมหาธรรมราชา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับคติพราหมณ์มาจากขอม เรียกว่า เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพมาอวตารเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ทำให้ชนชั้นกษัตริย์มีสิทธิอำนาจมากที่สุดในอาณาจักรและห่างเหินจากชนชั้นประชาชนมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] คำขึ้นต้นพระนามเรียกว่า "สมเด็จ" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจด้านการปกครองถูกโอนมาเป็นของรัฐบาลพลเรือนและทหาร พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

[แก้] รายชื่อราชวงศ์ของคนไทยในอดีต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น