วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

การทําน้ำผลไม้

การทำน้ำผลไม้


ทำน้ำผลไม้อย่างถูกวิธี


น้ำผลไม้ประกอบไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ นอกจากคุณประโยชน์ดังกล่าวแล้ว น้ำผลไม้ยังจัดว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจในยุคปัจจุบัน เพราะประเทศไทยมีผลไม้หลายชนิดที่สามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ ทั้งเป็นน้ำผลไม้สดและบรรจุกระป๋อง

ทำน้ำผลไม้ให้อร่อย

1. เลือกผลไม้ที่สุกพอดี ไม่ช้ำ ไม่มีรา หรือไม่มีรอยแมลงกัดกิน
2. ล้างผลไม้ให้สะอาด
3. การคั้นน้ำหรือสกัดน้ำ
    3.1 ผลไม้ที่คั้นสดนำมาตัดหรือย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือตีด้วยเครื่องตีเนื้อผลไม้ ในกรณีมะนาวหรือส้ม ผ่าครึ่ง บีบด้วยเครื่องบีบ กรองเอากากออก 3.2 ผลไม้บางประเภทต้องต้มก่อนจึงจะสกัดน้ำได้ เช่น พุทรา มะขาม ให้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก

4. การผสม น้ำผลไม้บางชนิด เมื่อถูกความร้อนจะทำให้คุณภาพเสีย ดังนั้น ผู้ทำควรใช้น้ำเชื่อมที่เย็นแล้วผสม เติมกรดซิตริกหรือกรดมะนาว เพื่อช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวตามความต้องการ บางคนอาจใส่เกลือลงไปด้วยตามชอบ
หมายเหตุ : วิธีทำน้ำเชื่อม ใช้น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วกรอง
5. การเก็บ ถ้าเก็บไว้รับประทานหลายวัน ผู้ทำควรต้มน้ำผลไม้ให้เดือดก่อนบรรจุขวดที่สะอาด ปิดจุก เก็บในตู้เย็น ถ้าจะเก็บในอุณหภูมิธรรมดา ควรเติมโซเดียมเบนโซเอท 0.5 กรัม หรือปริมาณ 1/2 ช้อนชาต่อน้ำผลไม้หวานเข้มข้น 1 ลิตร

อร่อยอย่างถูกวิธี
การแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เพื่อให้ผู้ที่สนใจทำน้ำผลไม้ได้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง การทำน้ำผลไม้ ผู้ผลิตสามารถทำไว้เพื่อดื่มภายในครอบครัว หรือเพื่อทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวก็ได้

เรียบเรียงจาก
" ขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติที่ถูกต้องของการทำน้ำผลไม้ ". นิตยสารเส้นทางเศรษฐี.
ปีที่ 7 ฉบับที่ 79 (กันยายน, 2544) : หน้า 77.

คำไข : เคล็ดลับ - วิธี การทำน้ำผลไม้ อาหาร

เคล็ดลับการทำน้ำผลไม้ เป็นการแนะนำการทำน้ำผลไม้อย่างถูกวิธี เพื่อจะได้น้ำผลไม้ที่มีรสชาติอร่อย และอุดมไปด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
 

กราทํายากันยุง

พะโล้หมู-ไข่

กราทํายากันยุง

เทียนเจล

การทำเทียนเจล เทียนเจลแฟนซี "เทียนเจล" หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเจลสังเคราะห์มาผ่านความร้อนให้หลอมละลายเป็นของเหลวใส อาจเติมสี น้ำมันหอมระเหย แล้วตักใส่ในภาชนะรูปทรงตามต้องการ เช่น แก้วใส เซรามิก ดินเผา อาจตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม เช่น เปลือกหอย ปลาเรซิน ทรายสี กิ่งไม้แห้ง มีไส้เทียนสำหรับจุดไฟ ทำเป็นของประดับตกแต่งและของที่ระลึก
วัตถุดิบประกอบด้วย
  • เทียนเจล เกรดเอ เนื้อใสบริสุทธิ์ ( ลักษณะเหมือนเยลลี่ห้ามรับประทาน )
  • ไส้เทียนแบบมีเส้นลวดอยู่ภายใน ทำจากเส้นด้ายฝ้าย 100 %
  • สี ( ต้องเป็นสีสำหรับทำเทียนที่ละลายในน้ำมันได้เท่านั้น )
  • น้ำหอม ( เชื้อน้ำมัน 100% )
  • พาราฟิน
วัสดุอุปกรณ์
  • ภาชนะสำหรับต้มเพื่อให้เจลหลอมเหลว เช่น หม้อ หรือ กะทะแบบมีด้ามจับ ฯลฯ

  • เตา เป็นเตาปิกนิคก็ได้ หรือเตาไฟฟ้าจะดีกว่าเพราะสามารถคุมอุณหภูมิได้

  • แก้วใสแบบสวยๆหรือแบบแปลกๆ จานรองแก้ว ชามแก้วแล้วแต่ว่าจะทำให้เหมือนอะไร เช่น จะทำเครื่องดื่มก็ใช้แก้วใสธรรมดา ถ้าจะทำไอศครีมก็เลือกใช้แก้วใส่ไอศครีมจะมีลักษณะเป็นแก้วหนาวงรี เป็นต้น

  • สารภี ช้อน ส้อม

  • มีด ใช้ตกแต่งผิวงานให้เรียบร้อย

  • กรรไกร

  • พิมพ์ขนมแบบต่างๆ

  • (อุปกรณ์ตกแต่ง แล้วแต่จะสรรหาตามสไตล์ของคุณ แต่ควรเป็นของที่ไม่ติดไฟ )

    วิธีทำโดยย่อ

  • ล้างแก้วที่ต้องการทำชิ้นงานให้สะอาด เช็ดให้แห้งสนิท

  • ติดไส้เทียนกับแก้วโดยกาว รอสักพักให้กาวแห้ ง

  • จัดแต่งสิ่งของที่ต้องการตกแต่งภายในแก้ว ตามแบบที่คุณต้องการ

  • นำเจลมาต้มในภาชนะที่เตรียมไว้ โดยใช้ไฟอ่อน รอจนเนื้อเจล หลอมละลายจนเหลว เบาไฟให้อ่อนที่สุด
    หาก ต้องหากต้องการเพิ่มสีสันให้กับเจล นำสีที่ต้องการใส่ผสมลงในเนื้อเจล ( ควรสกิดผงสีใส่ไปทีละน้อยๆ มิฉะนั้นสีจะเข้มมาก )

  • ใช้ทัพพีหรือช้อนโคนให้ทั่ว แล้วปิดไฟเตา

  • จากนั้นนำน้ำหอมที่ต้องการใส่ลงในเนื้อเจล แล้วโคนให้ทั่ว ( ไม่ควรใส่น้ำหอมเกินกว่า 3% เพราะน้ำหอมมี คุณสมบัติติดไฟ ถ้าใส่มากเกินไฟอาจลุกบนเนื้อเจลได้ )

  • เทเนื้อเจลที่เหลวลงในแก้วหรือภาชนะที่ได้จัดเตรียมไว้อย่างระมัดระวัง

  • หากต้องการใส่สิ่งของแต่งเพิ่มรอประมาณ 2-5 นาที ไม่ควรใช้วัสดุที่ติดไฟได้ใส่ลงไป

  • รอให้เนื้อเทียนเจลเย็นตัวลง เป็นอันเรียบร้อย วิธีทำเทียนเจลรูปเบียร์เย็นๆมีฟอง
    1 เตรียมแก้วเบียร์ใส 1 ใบ แบบไหนก็ได้ที่คอเบียร์ชอบละครับ ปกติก็จะเป็นแบบมีหูจับ ทำความสะอาดรอไว้
    2 นำเจลใส่หม้อหรือกาละมังขึ้นตั้งไฟให้ละลาย ให้ใช้ไฟอ่อน
    3 เมื่อละลายแล้วนำสีเหลืองค่อยๆเติมลงไปพร้อมกับคนให้ทั่ว ดูสีให้เหมือนกับสีของเบียร์จริงๆ
    4 จากนั้นนี้ก็เติมน้ำหอมกลิ่นที่ชอบลงไป ให้ใส่แต่ทีละน้อยๆอย่าใส่มากเพราะถ้ามากไปเจลจะขุ่น
    5 เมื่อเจลเย็นตัวลงจะเริ่มหนืดใช้ส้อมคนเจลให้ฟองอากาศขึ้นให้ดูเหมือนมีฟองอากาศอยู่ภายในแก้วเบีย
    6 ทำฟองเบียร์ขาวๆโดยนำพาราฟินมาตั้งไฟให้ละลาย พอเริ่มแข็งตัวใช้ช้อนหรือส้อมก็ได้ขูดให้เป็นฟอง เสร็จแล้วตักใส่แก้วเบียร์
    7 จากนั้นก็นำไม้ปลายแหลมเช่นไม้เสียบลูกชิ้น ไม้จิ้มฟัน หรือเหล็กแหลมเสียบลงไปให้เป็นรู นำไส้เทียนสอดเข้าไป
    เทียนเจลรูปเบียร์เย็นๆมีฟองเสร็จแล้ว
    วิธีทำไอศครีมรสสตอเบอรี่ราดช๊อคโกแลต จากเทียนเจล
    วิธีทำขนมตาล จากเทียนเจล
    วิธีทำเฉาก๊วย จากเทียนเจล
    วิธีทำค๊อกเทล จากเทียนเจล
  • การทําไอศกรีม

    สูตรไอศกรีมง่ายๆที่สามารถทำเองได

    ไอศกรีมกะทิสด
    ส่วนผสม
    มะพร้าวขูดขาว 1000 กรัม
    น้ำเปล่า 800 กรัม
    น้ำตาลทรายขาว 195 กรัม
    เกลือ 1 หยิบมือ
    หางนมผง 100 กรัม
    แป้งข้าวโพด 4 กรัม น้ำ 150 กรัม
    วิธีทำ
    คั้นมะพร้าวขูดกับน้ำ 800 กรัม ให้ได้น้ำกะทิประมาณ 1,050 กรัม ผสมน้ำกะทิกับน้ำลงในหม้อสแตนเลส ยกขึ้นตั้งไฟให้ได้อุณหภูมิประมาณ 55 องศาเซลเซียส ผสมส่วนผสมที่เป็นของแข็งทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วค่อยๆ โรยลงบนน้ำกะทิ คนให้ทั่วๆ ขณะโรย จนส่วนผสมละลายหมด อุ่นให้ได้อุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส นำเข้าเครื่องปั่น ปั่นด้วยความเร็วสูงสุดนาน 1 นาที เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นเทใส่หม้อสแตนเลส ยกขึ้นตั้งไฟ พาสเจอร์ไรซ์ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 2 นาที เสร็จแล้วนำไปแช่น้ำเย็นให้เย็นทันที จากนั้นนำไปแช่ในตู้เย็นนานอย่างน้อย 2 ช . ม . หรือข้ามคืน ปั่นด้วยเครื่องปั่นไอศครีม จะได้ไอศครีมกะทิน้ำหนักประมาณ 1500 กรัม

    ออเรนจ์ เชอร์เบท

    มาคลายร้อนด้วยไอศกรีมออเรนจ์ เชอร์เบท คนที่ไม่มีเครื่องปั่นไอศกรีมก็สามารถทำได้ เมื่อได้รับประทานแล้วจะได้เย็นกาย เย็นใจ คลายร้อนกันทั้งครอบครัว ว่าแต่จะเลือกรสไหนดี ส้ม องุ่น มะนาว หรือสตรอเบอรี่
    ส่วนผสม
    น้ำส้มคั้น 2 ถ้วย
    น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
    เยลลี่แผ่น 1 แผ่น
    วิธีทำ
    ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน นำไปแช่ตู้เย็น ในช่องแข็ง ให้แข็งเป็นเกล็ดๆ นำออกมาปั่นด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ หรือเครื่องตีไข่ จนเนื้อละเอียดขึ้น แล้วนำกลับไปแช่ช่องแข็ง ให้เป็นเกล็ดน้ำแข็งอีก นำมาปั่นซ้ำ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง จนเนื้อไอศครีมละเอียดตามที่ต้องการ ตักใส่ภาชนะมีฝาปิด นำเข้าแช่ในตู้เย็นให้แข็ง ก่อนนำออกเสิร์ฟ
    หมายเหตุ : อัตราส่วน น้ำ : น้ำตาล สำหรับน้ำเชื่อม คือ 3/4 : 1
    ถ้ามีเครื่องปั่นไอศกรีม ให้นำส่วนผสมทั้งหมด ตีกับเครื่องทำไอศกรีม จนเนื้อละเอียด เพียงครั้งเดียว ไม่ต้องนำกลับไปแช่ แล้วนำกลับมาตีใหม่

    ไอศกรีมส้ม

    ส่วนประกอบ
    น้ำส้ม 500 มิลลิลิตร
    นมพร่องไขมัน 1 ลิตร
    น้ำตาล 1 ถ้วย
    หางนมผง 4 ช้อนโต๊ะ
    ไข่ขาว 2 ฟอง
    ส่วนประกอบสำหรับทำซอสส้ม
    น้ำส้ม 280 มิลลิลิตร
    น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
    แป้งข้าวโพด 1 ช้อนชา
    เนื้อส้ม 1 ผล
    วิธีทำ
    เทน้ำส้ม 500 มิลลิลิตร ลงในหม้อเคลือบ ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำส้ม เคี่ยวด้วยไฟแรง จนกระทั่งลดลงเหลือ 3 ใน 4 พักไว้ให้เย็น
     
    เทน้ำตาล ( โดยเหลือ เก็บไว้ 2 ช้อนโต๊ะ ) นม และนมผงลงในกะทะก้นหนา เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ค้นอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งน้ำตาลละลาย นำขึ้นจากเตาพักไว้ให้เย็น
    ในขณะนี้ ก็เตรียมทำซอสส้ม โดยผสมน้ำส้ม น้ำผึ้ง และเนื้อส้ม เข้าด้วยกันในกะทะแบน เคี่ยวด้วยไฟอ่อน เป็นเวลา 1-2 นาที ละลาย แป้งข้าวโพดในน้ำเย็น แล้วเทลงในส่วนผสมทำซอสเพื่อให้ซอสข้น จากนั้นนำขึ้นจากเตาแล้วพักไว้ให้เย็น
    เทส่วนผสมนมที่พักไว้ลงในเครื่องปั่นไอศกรีม แล้วปั่น ในขณะนี้ให้ตีไข่ขาวในชามอีกใบ จนขึ้นแล้วเติมน้ำตาลที่เก็บไว้ลงไปแล้วตีต่ออีกประมาณ 1 นาที แล้วพักไว้ เติมน้ำส้มที่เคี่ยวไว้แล้ว ลงไปผสมกับนมในเครื่องปั่นไอศกรีม ปั่นไอศกรีมต่อจนกระทั่งข้น เติมไข่ขาวที่ตีให้ขึ้นไว้แล้วลงในเครื่องปั่นไอศกรีม แล้วปั่นต่อจนกระทั่งเข้ากัน เสร็จแล้วตักไอศกรีมใส่ภาชนะ แล้วนำเข้าช่องแช่แข็งทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อจะเสริฟ ให้ตักไอศกรีมใส่จานแช่เย็น แล้วราดด้วยซอสส้มที่ทำเตรียมไว้รอบจาน

    พะโล้หมู-ไข่

    ขนมไทย

    การทําผ้าบาติก

    วิธีการทำไข่เค็มให้อร่อย

    การทําปุ๋ยหมัก

    การทำปุ๋ยหมัก(Composting)


               การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์  จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย   วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ  2. แบบไม่ใช้อากศ

              การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน   2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ   ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น   ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์   และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)

              การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน   และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า   ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว   ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มีความดีน

             การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน   ช่วยเพื่มโพรงอากาศ   ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น   และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน   ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น   และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล   และธาตุไนโตรเจน  โพแทสเซียม   และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้

    การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost)

             การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุด   ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์   วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้   ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น   ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก   และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์   ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน   การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย

    ตารางวัตถุอินทรีย์ที่สามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก
    <> <>
    ชนิด ประเภทคาร์บอน
    (C)/ไนโตรเจน(N)
    รายละเอียด
    สาหร่ายทะเลมอสทะเลสาบแหล่งสารอาหารที่ดี
    เครื่องดื่ม น้ำล้างในครัวเป็นกลางใช้ให้ความชื้นแก่กองปุ๋ย
    กระดาษแข็งCตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนใช้ ถ้ามีมากควรนำไปรีไซเคิล
    กาแฟบดและที่กรอง Nหนอนชอบ
    ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดCตัดเป็นช้นเล็กๆ
    ผ้าสำลี  Cทำให้ชื้น
    เปลือกไข่Nบดให้ละเอียด
    เส้นผม Nกระจายอย่าให้จับตัวเป็นก้อน
    มูลสัตว์กินพืช Nเป็นแห่งไนโตรเจน
    หนังสือพิมพ์ Cอย่าใช้กระดาษมันหน้าสี ถ้ามีกมากให้นำไปรีไซเคิล
    ใบโอ๊ก  Cตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นกรด
    ขี้เลื่อย เศษไม้ (ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี)Cอย่าใช้มาก
    ใบสนและผลของต้นสน Cอย่าใช้มาก ย่อยสลายช้า เป็นกรด

    ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ต้องใช้อย่างระวัง
    <> <>
    ชนิดของวัตถุ  ประเภทคาร์บอน
    (C)/ไนโตรเจน(N)  
    รายละเอียด
    ขี้เถ้าจากไม้เป็นกลางใช้ในปริมาณที่พอเหมาเท่านั้น
    ขี้นกNมีเมล็ดวัชพืชและเชื้อโรค
    ต้นไม้ที่เป็นโรคตายNอย่าใช้ปุ๋ยหมักใกล้กับต้นไม้ชนิดเดียวกับที่เป็นโรคตาย
    นม ชีส โยเกิร์ต  เป็นกลางจะดึงดูดสัตว์เข้ามาในกองปุ๋ยหมัก
    วัชพืช Nทำให้แห้งก่อนใช้
    หญ้าNต้องแน่ใจว่ากองปุ๋ยหมักร้อนพอที่จะหยุดการเจริญเติบโตของหญ้า

    ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ห้ามใช้
    <> <>
    ชนิดของวัตถุประเภทคาร์บอน
    (C)/ไนโตรเจน(N) 
      
    รายละเอียด
    ขี้เถ้าจากถ่านหินหรือถ่านโค้ก-อาจมีวัสดุที่ไม่ดีต่อพืช
    ขี้หมา ขี้แมว -อาจมีเชื้อโรค
    เศษปลา-ดึงดูดพวกหนู ทำให้กองปุ๋ยหมักมีกลิ่นเหม็น
    มะนาว -สามารถหยุดกระบวนการหมักปุ๋ย
    เนื้อ ไขมัน จารบี น้ำมัน กระดูก -หลีกเลี่ยง
    กระดาษมันจากวารสาร-หลีกเลี่ย

    ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก

    การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

             1.   อุณหภูมิ : อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์   ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง  อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ 1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 10^0C-45^0C (50^0F-113^0F) และ 2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง 45^0C-70^0C (113^0F-158^0F) การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า 55^0C (130^0F) เป็นเวลา 3-4 วัน   จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้   ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง 69^0C (155^0F) การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ  55^0C ถ้าอุณหภูมิเกิน 69^0C ประชากรของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน   ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง   อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น   ปริมาณความชื้น   ออกซิเจนที่มีอยู่   และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น   เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง   ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรูณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้  โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต

             2.   การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแลพทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ   ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น   กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ   จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า   การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า  ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้   กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์   เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น   และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก   โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก   ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน   ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา   ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก   การย่อสลายยิ่งเกิดมาก

             3.   ความชื้น (moisture) : ความชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์   กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์   ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์   การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย   สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ   จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น   หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว

             4.   ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาดวัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น   เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น   บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจากสนาม   ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้  จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง   หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้   ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น

             5.   การกลับกอง (turning) : ในระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย   จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์   ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก   เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์   และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน   ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น  ระยะเวลาในการกลับกอง    สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท

             6.   อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน   จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C:N=30:1โดยน้ำหมักแห้ง)   ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่นเหม็น   วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C:N = 30:1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียงเช่น   การผสมมูลวัวที่มี C:N = 20:1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C:N =60:1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C:N =(20:1+10:1+60:1)/3=33:1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C:N ไม่เกิน 20:1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

    ตารางแสดงค่าอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป
    <> <>
      
    วัตถุอินทรีย์อัตราส่วน C:N
    เศษผัก12-20:1
    เศษอาหาร    18:1
    พืชตะกูลถั่ว 13:1
    มูลวัว    20:1
    กากแอปเปิ้ล 21:1
    ใบไม้    40-80:1
    ฟางข้าวโพด  60:1
    ฟางข้าวสาลี 74:1
    กระดาษ 80:1
    ขี้เลื่อย 150-200:1
    เศษหญ้า 100-150:1
    กาแฟบด  12-25:1
    เปลือกไม้ 20:1
    ขยะผลไม้ 100-130:1
    มูลสัตว์ปีกสด10:1
    มูลม้า 25:1
    หนังสือพิมพ์ 50-200:1
    ใบสน 60-110:1
    มูลที่เน่าเปื่อย 20:1

    วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)

              การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

              1.   การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช   การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง   ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า

              2.   การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้  แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม   ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า

              3.   การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet  composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ   เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน   วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์   ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน  วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช   ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน

              4.   การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว   แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน   รอประมาณ 2-3 อาทิตย์   ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า

    ขันตอนการทำปุ๋ยหมัก

              การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้

              ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว

              ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว

              ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว

              ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว

             ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน

              ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง

    การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย


              การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป  จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย  แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง


    การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน

              การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง   เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก   ทุกๆ 2-3 วัน   ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง   เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง   การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน


    รูปที่ 1[5]

              วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้   ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง   ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ   หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว   วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์   ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และการระบายอากาศไม่ดี   การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)



    รูปที่ 2[9]

              สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่   การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต   และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ยหมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ   การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้งที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป

     


    รูปที่ 3[5]

              อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือการสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี   โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน   การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์   การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

     

    รูปที่ 4[5]

              การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก   ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก   การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้   ทำให้ลำบากในการตักได้   ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น

    ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก

              ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่   การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้

             กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศเนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและอัดตัวกันแน่น  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้   การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภทฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้

              แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย   ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา   วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง  หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู

              กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่ 1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ 2 มีออกซิเจนไม่เพียงพอ 3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ 4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว   สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร   สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น

    มาตรฐานปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์ในประเทศไทย

               ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุมีปริมาณธาตุอาหารหลักไม่สมบรูณ์ครบถ้วนที่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์   แต่ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านอื่นมีมากมายเช่น ปุ๋ยหมักที่อยู่ในรูปของฮิวมัสช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้ดีขึ้น  ช่วยอุ้มน้ำได้มากช่วยป้องกันความแห้งแล้ง   ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน   ช่วยกัดเก็บธาตุต่างๆ ในดิน เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง ช่วยทำให้สารพิษในดินเป็นกลาง ช่วยให้ต้นไม้ดูดซึมวิตามินและออกซิเจนดีขึ้น

              ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่าของธาตุต่างๆ เป็นไปได้ตามมาตรฐานของปุ๋ยหมัก   ถ้าปุ๋ยหมักไม่ได้มาตรฐานนี้อาจจะเป็นพิษต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมได้   สำหรับมาตรฐานของปุ๋ยหมักในประเทศเป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนี้
    <> <>
    ลำดับที่คุณลักษณะเกณฑ์กำหนด
    1ขนาดของปุ๋ยไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร
    2ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
    3ปริมาณหินและกรวด    ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
    4พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่นๆ  ต้องไม่มี
    5ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
    6ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)    5.5-8.5
    7อัตราค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N)  ไม่เกิน 20:1
    8ค่าการนำไฟฟ้า (EC:Electrical Conductivity)   ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร
    9ปริมาณธาตุอาหารหลัก

    -ไนโตรเจน(total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก-ฟอสฟอรัส( total P_2O_5) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
    -โพแทสเซียม (total K_2O) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

    10การย่อยสลายที่สมบรูณ์    มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
    11สารหนู(Arsenic)แคดเมียม(Cadmium)
    โครเมียม(Chromium)
    ทองแดง(Copper)
    ตะกั่ว(Lead)
    ปรอท(Mercury)

    ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม


     



    *หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

    การทําเทียนหอม

    การทําเทียนหอม

    การทำเทียนหอม
        ใครชอบแต่งบ้านให้ได้ทั้งความสวยงามและได้ประโยชน์ด้วยละก็ นี่แหละ ใช่เลย เทียนหอมกันยุง เป็นงานหัตถกรรมที่มีความสวยงามสามารถตกแต่งได้ตามใจผู้ทำ สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ก็เป็นเรื่องของวัสดุต่างๆที่นำมาใช้และเทคนิค วิธีทำ เมื่อทราบขั้นตอนต่างๆเหล่านี้เมื่อได้ลงมือทำไปบ้างแล้วที่นี้ล่ะ แบบเทียนสวยๆหอมๆจากใจคุณก็จะออกมาได้เอง ยังไงส่งภาพมาให้ดูกันบ้างนะครับ
    มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เรามาดูกันว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำเทียนหอม

    1 หม้อ หุงข้าวไฟฟ้า ใช้สำหรับละลายเทียนเพื่อความสะดวก เพราะตัวหม้อจะมีระบบตัดไฟเมื่อน้ำเทียนเดือด เมื่อเทียนแข็งตัวและเราต้องการให้เทียนหลอมละลายอีกเราก็กดปุ่มอีกครั้ง

    2 หม้อ สองชั้นสำหรับตุ๋นเทียน ชั้นล่างเป็นหม้อใบใหญ่กว่าสำหรับใส่น้ำ ใบบนสำหรับใส่เทียนเป็นหม้อใบเล็กกว่ามีด้ามจับ ถ้าใช้หม้อชั้นเดียวเนื้อเทียนจะถูกความร้อนโดยตรงซึ่งร้อนเกินไปและไม่ สะดวกแก่การทำงาน

    3 ถาดขนมสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ ควรเป็นแบบที่ทำจากอลูมิเนียมจะได้ทนความร้อนได้ดี

    4 ช้อน สำหรับตักเทียน

    5 แม่พิมพ์ สำหรับยอดเทียนให้เป็นรูปต่างๆ

    6 เหล็กคีบ ใช้หนีบภาชนะร้อนๆจะได้ไม่ร้อนมือ

    7 กาละมังสเตนเลสใบเล็ก

    8 ทัพพีกลมสำหรับตักน้ำเทียน

    9 กรรไกรสำหรับตัดแต่งเทียน

    10 แม่พิมพ์ สำหรัยยอดเทียนให้เป็นรูปต่างๆ กรณีที่ต้องการทำรูปแบบต่างๆให้ดูสวยงาม

    11 เหล็กแหลม สำหรับปักไส้เทียน

    วัสดุที่เราใช้ในการทำเทียน
    1 พาราฟินแวกซ์ มีลักษณะเป็นของแข็งใสมีทั้งแบบก้อนและเม็ด มีจุดหลอมเหลวที ่58°c - 62°c

    2 โพ ลีเอททีลีนแวกซ์ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า พีอี หรือโพลีเอสเตอร์ เอสเตอร์รีน มีลักษณะเป็นเกล็ด ช่วยทำให้เทียนจุดได้นานขึ้นปกติจะใช้ประมาณ 2--10 เปอร์เซนต์

    3 สเตียริคเอซิค ช่วยทำให้เทียนมีผิวลื่นแกะออกจากพิมพ์ง่าย มีทั้งแบบเป็นเกล็ดและเม็ดไข่ปลา ปกติจะใช้ 4 ช้อนโต๊ะต่อพาราฟิน 1/2 กก.

    4 ไมโครแวกซ์ ช่วยทำให้เทียนมีความเหนียวง่ายต่อการปั้นหรือแกะสลัก มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาว ถ้าใช้แบบคุณภาพต่ำจะทำให้มีควันมาก

    5 ไส้เทียน มี 2 แบบคือแบบที่ฟอกแล้วจะมีสีขาวและแบบที่ยังไม่ได้ฟอกจะมีสีขาวขุ่น

    6 สีผสมเทียน

    7 น้ำมันตะไคร้หอม

        เรื่องของวัสดุในการทำเทียนหอมกันยุงผมได้แจงรายละเอียดไว้เผื่อสำหรับในการ ทำเทียนแบบสวยงามด้วยเลย จึงดูค่อนข้างจะมีส่วนประกอบมาก ลองทำดูก็แล้วกันครับมีไอเดียอะไรในเรื่องของรูปแบบหน้าตาก็ดัดแปลงได้ไม่ ผิดกติกา วัสดุหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนโดยเฉพาะร้านใหญ่ๆจะมีขายส่วนอุปกรณ์หา ซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเก็ตตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป บางรายการเช่นแบบพิมพ์ขนมรูปต่างๆมีขายตามร้านขายอุปกรณ์ทำขนม

    วิธีการทำเทียนหอม
    1 นำแผ่นฟาราฟินแวกซ์หั่นเป็นท่อนๆใส่หม้อขึ้นตั้งความร้อนปานกลาง เคี้ยวไปจนละลายเป็นของเหลว
    2 ใสสีตามลงไปโดยใส่ทีละน้อยตามต้องการคนจนสีเนียนเข้ากันทั่วทั้งหม้อหากสีจืดไปค่อยเติมสีเพิ่ม
    3 ใส่หัวน้ำมันตะไคร้หอมประมาณ 3-4 หยดต่อเทียน 1/2 กก.
    4 หยอดเทียนใส่พิมพ์ รอจนแข็งตัวจึงแกะออกจากพิมพ์ ตกแต่งผิวด้วยมีดหรือกรรไกร หรืออาจหยอดใส่ถ้วยแก้วเล็กๆก็ได้
    5 นำมาตกแต่งด้วยริบบิ้นหรืออื่นๆเพื่อให้ดูสวย

        การทำเทียนแบบนี้ก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่สร้างสรรได้ตามความคิดของผู้ทำ รูปแบบของหน้าตาที่ออกมาจะสวยอย่างไรก็คงคล้ายๆกับการแต่งหน้าเค้กที่ต้อง อาศัยทักษะ การสังเกตุจดจำรูปแบบต่างๆที่เคยเห็นและนำมาประยุกต์หรืออาจออกแบบตามแนว ความคิดที่จินตนาการขึ้นเอง

    ซ่าหริ่ม

    ซ่าหริ่ม

    'ฟักทองแกงบวด'




    'ฟักทองแกงบวด'
    หลังจากที่นำเสนอเมนูอาหารจานเดียวมาหลายสัปดาห์แล้ว วันนี้ 'จานโปรด' ก็ขอเอาใจผู้ที่ชอบทานขนมหวานกันบ้าง เพราะเมนูแนะนำของเราในวันนี้คือ 'ฟักทองแกงบวด' ว่าแล้ว ก็ไปเตรียมส่วนผสมกันก่อนเลยค่ะ
    ส่วนผสม
    ฟักทอง 400 กรัม
    หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
    หางกะทิ 2 1/2 ถ้วย
    น้ำตาลปีบ
    เกลือป่น
    ลงมือเข้าครัว
    1. นำฟักทองที่เตรียมไว้มาปลอกเปลือก คว้านเอาไส้ด้านในและเม็ดออกให้หมด หั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำ (ใครที่ชอบทานแบบกรอบหน่อยก็นำไปแช่ในน้ำปูนใสไว้สัก 1 ช.ม.)
    2. นำหางกะทิใส่หม้อ ตั้งไฟปานกลาง รอจนเดือด จากนั้นใส่น้ำตาลปีบ และเกลือลงไป คนให้ละลาย ชิมรสหวานตามใจชอบ
    3. เมื่อได้ที่แล้ว ใส่ฟักทองลงไป ต้มทิ้งไว้จนสุก จากนั้นใส่หัวกะทิลงไป ต้มด้วยไฟอ่อนอีกครั้งจนเดือด เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ
    เป็นไงคะ อาหารหวานของเรา ไม่อยากอย่างที่คิดใช่ไหมคะ

    ขนมจีบกุ้ง

    ขนมจีบกุ้ง


    ส่วนผสม
    แผ่นแป้งเกี๊ยวประมาณ 2 ห่อ
    กุ้งชีแฮ้ (เปลือกขาว) 1 ก.ก. (แกะเปลือกแล้ว)
    มันหมูบดละเอียด 200 กรัม
    น้ำตาลทราย 50 กรัม
    เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
    พริกไทยขาว 1 ช้อนชา
    แป้งมันฮ่องกงประมาณ 1/4 ถ้วย
    น้ำมันงา 1 ช้อนชา
    แป้งมันสำปะหลังสำหรับล้างกุ้ง ประมาณ 2 ถ้วย
    เม็ดถั่วลันเตา เล็กน้อย
    แครอท เห็ดหอม หั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเท่ากับเม็ดถั่วลันเตา ใช้สำหรับแต่งหน้า

    วิธีทำ

    1. แกะเปลือกกุ้ง ผ่าหลังดึงไส้ดำออก ล้างน้ำให้สะอาด แล้วโรยแป้งมันสำปะหลังให้ทั่วขยำเบา ๆ พร้อมกับเปิดน้ำเบา ๆ ให้น้ำค่อย ๆไหล แช่กุ้งไว้พร้อมแป้งไว้ประมาณ 20 -30 นาที หลังจากนั้นใช้มือล้างกุ้ง ให้สะอาด เทน้ำออก แล้วเปิดน้ำใส่กะละมังให้น้ำไหลทิ้ง จนกว่าน้ำที่ล้างกุ้งจะสะอาดไม่มีสีขาวของแป้ง เทกุ้งใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ ใช้ผ้าสะอาดที่ซับน้ำวางบนโต๊ะ เทกุ้งลงบนผ้าแผ่ออกแล้วเช็ดให้แห้งสนิท
    2. ใส่กุ้ง มันหมู น้ำตาลทราย เกลือ พริกไทย แป้งมันฮ่องกง น้ำมันงา ลงในโถผสม ใช้หัวตะกร้อตีจนเนื้อกุ้งเหนียวเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน (ถ้าไม่มีที่ตีใช้มือนวดก็ได้ แต่ใช้แรงและเวลามากหน่อย) นำส่วนผสมที่ได้แช่เย็นไว้ในช่องเย็น (Chill )จนเย็นประมาณ 1-2 ชั่วโมง (จะแช่ค้างคืนไว้ก็ได้)
    3.ตัดริมแผ่นแป้งเกี๊ยวออกเล็กน้อยให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ตักกุ้งที่แช่ไว้ใส่แผ่นแป้ง บีบให้แน่น อย่าใส่มากเกินไป ปาดหน้าให้เรียบ วางถั่วลันเตาหรือเห็ดหอมหรือแครอทบนหน้ากุ้ง ทาน้ำมันพืชบนลังถึงให้ทั่ว วางขนมจีบแล้วนำไปนึ่งนานประมาณ 5 นาที

    - ควรใช้กุ้งชีแฮ้ตัวใหญ่ขนาด 100 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม เนื้อกำลังอร่อย
    - ถ้ามีปัญหาเรื่องคอเลสตอรอลไม่ใส่มันหมูก็ได้ แต่เนื้อกุ้งจะแข็ง

    มาม่าผัดขี้เมา

    มาม่าผัดขี้เมา



    เครื่องปรุง
    1.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1-2 ซอง / เลือกยี่ห้อตามใจชอบเลยน๊าาาาา
    2.กุ้ง / ผม เหลือกุ้งอยู่ 5 ตัว ก็ใช้ 5 ตัวเนอะ 55+
    3.ผัก / ผม เหลือกะหล่ำปลี,บล๊อคโคลี่,แครอท,เห็ดฟาง,
    เม็ดพริกไทสด และมีใบกะเพรา
    4.พริก / จำไม่ได้ว่าเค้าเรียกว่าพริกอะไร......
    แต่ ผม บอกแม่ค้าว่าจะผัดขี้เมา หรือ ผัดกะเพรา แม่ค้าก็จัดให้ 555+
    5.ซอสปรุงรส , น้ำตาล , น้ำมันพืช , กระเทียมสดสับละเอียด
    ** สูตรนี้ใครจะดัดแปลงใส่ไข่ไก่ด้วยก็ได้นะครับ**
    วิธีทำ
    1.ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป / ตั้งหม้อต้มมาม่าไปพร้อมกันเลยนะครับ
    แต่ว่ามาม่าไม่ต้องต้มให้นิ่มมากนะ เพราะเดี๋ยวต้องเอามาผัดเส้นจะเละ
    2.เอากระเทียมสดสับใส่ลงไปพร้อมเม็ดพริกไทสดและพริกที่ซอยแล้ว
    3.ใส่กุ้งลงไป ตอนนี้จะปรุงรสเลยก็ได้ ปรุงรสให้จัดไว้นะ เพราะเดี๋ยวใส่เส้น
    มาม่าแล้วมันจะจืด ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส ผม ชอบใช้ซอสปรุงรสตราภูเขาทองฝาเขียวค่ะกลิ่นจะหอม รสกลมกล่อมดี ที่สำคัญสีไม่ออกมาดำมาก เพราะว่า ผม ไม่ชอบกินซีอิ้ว referrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600">ath o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f">ath>fficeffice" />
    4.นำมาม่าที่สะเด็ดน้ำแล้วลงไปผัดกับส่วนผสมในกระทะ พอจะตักใส่จานก็โรยด้วยใบกะเพรา แค่นี้ก็ได้มาม่าผัดขี้เมากุ้งไว้กินล่ะน๊าาา
    ผมชอบทำอาหารแต่ ยังไม่ค่อยมั่นใจฝีมือ แต่ทำไรไปเรื่อยเปื่อย พอมีเวลาใครมีไรเสนอแนะ บอกด้วย ครับ ผม ชื่อ ก้าน ครับ

    การทําสบู่

    มีวิธีทำสบู่มาบอก เผื่อคัยจะเอาไปทำงานหรือเอาไปลองทำดูก้อได้นะคับบบ
    เป็นที่ทราบกันดีว่าสบู่ช่วยรักษาความสะอาดให้ร่างกาย และสิ่ง อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ความสะอาดช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การทำสบู่ใช้เองภายในบ้านสามารถทำได้โดยอาศัยส่วนประกอบที่สำคัญคือ ไขมันและน้ำด่าง
    วิธีการทำสบู่ มีอยู่ 2 วิธีคือ
    วิธีที่ 1 ใช้น้ำด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด หากสามารถหาซื้อน้ำด่าง สำเร็จรูปได้ง่ายในท้องตลาด
    วิธีที่ 2 ใช้น้ำด่างจากการชะล้างขี้เถ้า วิธีนี้ได้แบบอย่างมาจากผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือรุ่นแรก ๆ
    ส่วนผสมของสบู่
    1. ไขมันและน้ำมัน อาจเป็นไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชก็ได้ แต่น้ำมันจากแร่ธาตุใช้ไม่ได้ ไขมันสัตว์ เช่น ไขวัว กระบือ น้ำมันหมู ฯลฯ ไขมัน พืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และน้ำมันละหุ่ง ฯลฯ
    2. น้ำด่าง น้ำด่างสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดเรียกว่า โซดาไฟ หรือผลึกโซดา หรือผลึกโซเดียมไฮดรอกไซด์ ราคาถูกมีขายทั่วไป หรือน้ำ ด่างที่ได้จากการชะล้างขี้เถ้าเรียกว่า โพแทช
    3. บอแร็กซ์ สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ แต่สารนี้ช่วยให้ สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก มีจำหน่ายตามร้านขายยา หรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุง พลาสติก
    4. น้ำหอม น้ำหอมก็ไม่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่ มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ใช้ทำสบู่นั้นเหม็นอับ ใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสม จะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า
    5. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ดีต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นน้ำกระด้างจะทำ ให้สบู่ไม่เกิดฟอง จึงขจัดความสกปรกไม่ได้ ควรทำให้น้ำนั้นหายกระด้าง เสียก่อน โดยเติมด่างประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) ต่อน้ำกระด้าง 1 แกลลอน (3.8 ลิตร) คนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเท เอาส่วนบนออกมา ส่วนน้ำและตะกอนที่ก้นภาชนะเททิ้งไปได้ น้ำที่เหมาะ ในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน
    การทำสบู่จากน้ำด่างสำเร็จรูปในท้องตลาด
    อุปกรณ์

    - ถ้วย ถังหรือหม้อที่ทำด้วยเหล็กหรือหม้อดินก็ได้ แต่ อย่าใช้หม้ออะลูมิเนียม เพราะด่างจะกัด
    - ถ้วยตวงที่ทำด้วยแก้วหรือกระเบื้องเคลือบ
    - ช้อนกระเบื้องเคลือบหรือช้อนไม้ และใบพายหรือกิ่งไม้ ขนาดเล็กสำหรับคน
    - แบบพิมพ์สบู่อาจจะทำด้วยแผ่นไม้หรือกระดาษแข็งก็ ได้ ขนาดของแบบพิมพ์จะใช้กว้างหรือยาวตามต้อง การ แต่ส่วนลึกควรจะเป็น 2-3 นิ้ว ดีที่สุด
    - ผ้าฝ้ายหรือกระดาษมันสำหรับรองรับสบู่ในแบบพิมพ์ โดยตัดผ้าหรือกระดาษออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งกว้าง กว่าเล็กน้อย อีกชิ้นหนึ่งยาวกว่าแบบเล็กน้อย ใช้ สำหรับช่วยยกสบู่ออกจากแบบพิมพ์ง่ายขึ้น
    อัตราส่วนของส่วนผสมที่ใช้ในการทำสบู่ได้ประมาณ 4 กิโลกรัม
    น้ำมันหรือไขแข็งสะอาด
    3 ลิตร หรือ 2.75 กก.
    บอแร็กซ์
    57 มิลลิลิตร (1/4 ถ้วย)
    ผลึกโซดาหรือน้ำด่าง
    370 กรัม
    น้ำ
    1.2 ลิตร
    น้ำหอม (เลือกกลิ่นตามต้องการ)
    1-4 ช้อนชา
    ขั้นตอนในการทำสบู่
    1. เตรียมไขมัน ถ้าไขมันไม่สะอาด ควรทำให้สะอาดเสียก่อน โดยเอาไปต้มกับน้ำในปริมาณที่เท่ากันในกาต้มน้ำ เมื่อเดือดแล้วเทส่วน ผสมผ่านผ้าบาง ๆ หรือตะแกรงสำหรับกรองลงในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วเติมน้ำเย็นลงไป 1 ส่วนต่อส่วนผสม 4 ส่วน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นโดยไม่ ต้องคน ถ้าจะให้สะอาดยิ่งขึ้นควรใส่มันเทศที่หั่นเป็นแว่นลงไปก่อน ที่จะต้มส่วนผสม
    2. เตรียมน้ำด่างผสม ทำได้โดย ตวงน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แล้วค่อย ๆ เติมด่าง (ผลึก โซดา) ที่จะใช้ลงไปในน้ำ ไม่ควรเติมน้ำลงไปในด่าง เพราะจะเกิดความร้อน และกระเด็นทำให้เปรอะเปื้อนได้ แล้วปล่อยให้น้ำด่างผสมนี้เย็นลงจนปกติ
    3. ค่อย ๆ เติมน้ำด่างผสมนี้ลงไปในไขมันที่ละลายแล้วในข้อ 1 ขณะที่เติมนี้ต้องคนส่วนผสมทั้งหมดนี้อย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอในทิศทาง เดียวกัน จนกว่าส่วนผสมจะข้นตามปกติ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ช่วงนี้ เติมน้ำหอมที่เตรียมไว้ลงไปได้ หลังจากนั้นปล่อยไว้ 15-20 นาที จึงค่อย คนหนึ่งครั้ง ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เมื่อส่วนผสมเหนียวดีแล้วจึงเทลงในแบบ พิมพ์ ซึ่งมีผ้าหรือกระดาษมันรองอยู่
    4. หาฝาครอบแบบพิมพ์ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ไม่ควรมีการ เคลื่อนย้ายหรือถูกกระทบกระเทือน สบู่จะยึดกันแน่นสามารถเอาออกจาก แบบพิมพ์ได้
    5. เมื่อสบู่แข็งตัวดีแล้ว นำออกจากแบบพิมพ์ แล้วใช้เส้นลวดหรือ เส้นเชือกตัดสบู่ออกเป็นชิ้น ๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปวางเรียงไว้ให้ อยู่ในลักษณะที่ลมพัดผ่านได้ทั่วถึงในบริเวณที่อุ่นและแห้ง ปล่อยไว้ 2-4 สัปดาห์ ก็นำไปใช้ได้
    การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่
    - สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขูด เนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้
    - ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก
    การปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น

    ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบาง ส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดี ขึ้นดังนี้
    - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์ลงไปด้วย
    - นำไปต้มนานประมาณ10 นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมัน อื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา (ถ้ายังไม่ได้เติม)ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 อัน แล้วดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว
    การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า
    เริ่มต้นด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า
    อุปกรณ์

    1. เครื่องมือสำหรับการชะล้างน้ำด่าง ประกอบด้วยก้อนหิน ขนาดย่อม ๆ หลายก้อน
    - แผ่นหินราบมีร่องน้ำให้ไหลได้
    - ถังไม้ขนาดจุ 19 ลิตร มีรูเล็ก ๆ หลายรูติดอยู่ก้นถัง
    - ภาชนะรองน้ำด่าง ไม่ควรใช้ภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะน้ำด่างจะกัด
    - กิ่งไม้เล็ก ๆ และฟาง
    - ขี้เถ้า 19 ลิตร ซึ่งได้จากการเผาไหม้ทุกชนิด ขี้เถ้าจาก ไม้เนื้อแข็งจะใช้ทำน้ำด่างได้ดีที่สุด สำหรับชนบทแถบ ชายทะเล ขี้เถ้าจากการเผาสาหร่ายทะเลใช้ได้ดีมาก เพราะมีธาตุโซเดียมทำให้สบู่แข็งตัวได้ดี
    - น้ำอ่อนปริมาณ 7.6 ลิตร

    2. วิธีการชะล้างขี้เถ้าทำน้ำด่าง
    - ตั้งอุปกรณ์ดังแสดงในรูป โดยที่ก้นของถังทำเป็นที่กรอง ขี้เถ้า ใช้กิ่งไม้ไข้วกัน 2 กิ่ง เรียงเป็นแถว แล้วเอาฟางวางลงบนกิ่ง
    - ใส่ขี้เถ้าลงในถัง แล้วเทน้ำอุ่นลงในถังเพื่อให้ขี้เถ้าเปียก และเหนียว เกลี่ยให้เกิดหลุมตรงกลาง แล้วค่อย ๆ เทน้ำส่วนที่เหลือลงใน หลุมนั้น ปล่อยให้น้ำซึมแล้วเติมน้ำอีก น้ำด่างสีน้ำตาลจะไหลลงสู่ส่วนล่าง ของถัง นานประมาณ 1 ชม. น้ำด่างที่ได้จะมีปริมาณ 1.8 ลิตร ถ้าน้ำด่างที่ มีความเข้มข้นดีแล้ว ทดสอบได้โดยเอาไข่ไก่หรือมันฝรั่งใส่ลงไป ไข่หรือมัน จะลอยได้ หรือถ้าจุ่มขนไก่ลงไป น้ำด่างจะเกาะติดแต่ไม่กัดขนไก่ให้หลุด ถ้าน้ำด่างอ่อนไป ควรเทกลับคืนถังอีกครั้ง หรือเคี่ยวให้ข้นด้วยการต้ม
    - ส่วนการทำสบู่ในขั้นต่อไปนั้นดำเนินการเช่นเดียวกันกับ วิธีแรก
    ข้อควรระวังในการใช้น้ำด่าง
    น้ำด่างนี้เป็นพิษเพราะกัดผิวหนังและทำให้เกิดแผลร้ายแรงได้ ฉะนั้น ไม่ควรให้ถูกผิวหนัง ถ้าถูกต้องรีบล้างทันทีด้วยน้ำเปล่า แล้วล้างด้วย น้ำส้มอีกครั้งหนึ่ง
    ถ้ากลืนน้ำด่างลงไป ให้รีบดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาวหรือมะกรูดตามลงไป ให้มาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ ดังนั้นควรเก็บน้ำด่างให้พ้นมือเด็ก

    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจนะคับ


    การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่
    - สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขูด เนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้
    - ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก
    การปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น

    ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบาง ส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดี ขึ้นดังนี้
    - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์ลงไปด้วย
    - นำไปต้มนานประมาณ10 นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมัน อื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา (ถ้ายังไม่ได้เติม)ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 อัน แล้วดำเนินการตามที่กล่าวมาแล้ว
    การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า
    เริ่มต้นด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า
    อุปกรณ์

    1. เครื่องมือสำหรับการชะล้างน้ำด่าง ประกอบด้วยก้อนหิน ขนาดย่อม ๆ หลายก้อน
    - แผ่นหินราบมีร่องน้ำให้ไหลได้
    - ถังไม้ขนาดจุ 19 ลิตร มีรูเล็ก ๆ หลายรูติดอยู่ก้นถัง
    - ภาชนะรองน้ำด่าง ไม่ควรใช้ภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียม เพราะน้ำด่างจะกัด
    - กิ่งไม้เล็ก ๆ และฟาง
    - ขี้เถ้า 19 ลิตร ซึ่งได้จากการเผาไหม้ทุกชนิด ขี้เถ้าจาก ไม้เนื้อแข็งจะใช้ทำน้ำด่างได้ดีที่สุด สำหรับชนบทแถบ ชายทะเล ขี้เถ้าจากการเผาสาหร่ายทะเลใช้ได้ดีมาก เพราะมีธาตุโซเดียมทำให้สบู่แข็งตัวได้ดี
    - น้ำอ่อนปริมาณ 7.6 ลิตร

    2. วิธีการชะล้างขี้เถ้าทำน้ำด่าง
    - ตั้งอุปกรณ์ดังแสดงในรูป โดยที่ก้นของถังทำเป็นที่กรอง ขี้เถ้า ใช้กิ่งไม้ไข้วกัน 2 กิ่ง เรียงเป็นแถว แล้วเอาฟางวางลงบนกิ่ง
    - ใส่ขี้เถ้าลงในถัง แล้วเทน้ำอุ่นลงในถังเพื่อให้ขี้เถ้าเปียก และเหนียว เกลี่ยให้เกิดหลุมตรงกลาง แล้วค่อย ๆ เทน้ำส่วนที่เหลือลงใน หลุมนั้น ปล่อยให้น้ำซึมแล้วเติมน้ำอีก น้ำด่างสีน้ำตาลจะไหลลงสู่ส่วนล่าง ของถัง นานประมาณ 1 ชม. น้ำด่างที่ได้จะมีปริมาณ 1.8 ลิตร ถ้าน้ำด่างที่ มีความเข้มข้นดีแล้ว ทดสอบได้โดยเอาไข่ไก่หรือมันฝรั่งใส่ลงไป ไข่หรือมัน จะลอยได้ หรือถ้าจุ่มขนไก่ลงไป น้ำด่างจะเกาะติดแต่ไม่กัดขนไก่ให้หลุด ถ้าน้ำด่างอ่อนไป ควรเทกลับคืนถังอีกครั้ง หรือเคี่ยวให้ข้นด้วยการต้ม
    - ส่วนการทำสบู่ในขั้นต่อไปนั้นดำเนินการเช่นเดียวกันกับ วิธีแรก
    ข้อควรระวังในการใช้น้ำด่าง
    น้ำด่างนี้เป็นพิษเพราะกัดผิวหนังและทำให้เกิดแผลร้ายแรงได้ ฉะนั้น ไม่ควรให้ถูกผิวหนัง ถ้าถูกต้องรีบล้างทันทีด้วยน้ำเปล่า แล้วล้างด้วย น้ำส้มอีกครั้งหนึ่ง
    ถ้ากลืนน้ำด่างลงไป ให้รีบดื่มน้ำส้ม น้ำมะนาวหรือมะกรูดตามลงไป ให้มาก ๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ ดังนั้นควรเก็บน้ำด่างให้พ้นมือเด็ก

    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจนะคับ